วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2559 


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมแรกของการเรียนวันนี้คือ อาจารย์ให้เล่น เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร

เกมที่หนึ่ง เกมสื่อความหมาย
เกมที่สอง เกมพรายกระซิบ
เกมที่สาม เกมทายคำ
เกมที่สี่ เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร




เข้าสู่บทเรียน การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
ความหมายของการสื่อสาร                                                                                                                                 การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 


ความสำคัญของการสื่อสาร          
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต 

     

       รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล

                                              (Aristotle’s Model of Communication)                                                              


รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล
(Lasswell’s Model of Communication)


       รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ 
(
Shannon & Weaver’s Model of Communication)

          รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์
 
(C.E Osgood and Willbur Schramm’s )



       รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล
 
(Berlo’s Model of Communication) 
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
• ผู้จัดกับผู้ชม
• ผู้พูดกับผู้ฟัง
• ผู้ถามกับผู้ตอบ
• คนแสดงกับคนดู
• นักเขียนกับนักอ่าน
• ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
• คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน

สื่อ  
        ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธี  การติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน   คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้  พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
สาร  
        คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี     ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
ประเภทของการสื่อสาร 
       ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ  ประการ คือ
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
• เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
• มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
• เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
• ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
• เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
• ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
• ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
• ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
• ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
• เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
• รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
• ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
• อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
• ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

7 c กับการสื่อสารที่ดี
• Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
• Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
• Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
• Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
• Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
• Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
• Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
• ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
• ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
• ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
• เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน 
• เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
- ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
- พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
- พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
- หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
- ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
- มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
- เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
สรุป
               การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้านโรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็ก
ร่วมกัน



ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตั้งใจสอนนักศึกษา เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น